ประวัติของ

โรงเรียนศรีประจันต์ เมธีประมุข

โรงเรียนศรีประจันต์ "เมธีประมุข"
Home » ประวัติของโรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข”

โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข”  อำเภอศรีประจันต์  จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็น โรงเรียน รัฐบาล  เมื่อวันที่  16  กุมภาพันธ์  2500 โดยพลเอกมังกร

โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข”

  พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีนายพินิต โพธิ์พันธ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายจรัส กมลเพชร เป็นนายอำเภอศรีประจันต์ และ นายพราม เรืองสกุล เป็นศึกษาธิการอำเภอ  เดิมเรียกชื่อ “โรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษาวัดจรรย์”   ต่อมาเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข”  ซึ่งที่มาของชื่อโรงเรียน มีดังนี้คือ

ศรีประจันต์        หมายถึง       ชื่อของอำเภอศรีประจันต์
เมธี                   หมายถึง       ชื่อของท่านเจ้าคุณพระเมธีธรรมสาร 
ประมุข              หมายถึง       หัวหน้า                                                                                                        

ซึ่งเป็นการให้เกียรติท่านเจ้าคุณพระเมธีธรรมสาร   ซึ่งเป็นหัวหน้าในการก่อตั้งโรงเรียนพร้อมด้วยคณะกรรมการ จำนวน 22 คน

โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข” ได้สร้างขึ้นโดยความริเริ่มของท่านเจ้าคุณพระเมธีธรรมสาร เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ พร้อมด้วยกรรมการอำเภอ และ พ่อค้า ประชาชนชาวอำเภอศรีประจันต์  

ในปี พ.ศ. 2500 โดยร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างอาคาร เรียน แบบป.1 ใต้ถุนสูงจากระดับดิน 1 เมตร 1 หลัง จำนวน 3 ห้องเรียน ขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 32 เมตร หลังคามุงกระเบื้องลูกฟูก มีมุขกลาง เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่ดินของวัดจรรย์ อำเภอศรีประจันต์ ซึ่งทางวัดจัดแบ่งที่ดินให้เป็นที่สำหรับก่อสร้างโรงเรียนประมาณ  7 ไร่ 80 ตารางวา อาคารเรียนหลังแรกนี้ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2500  โดยมีนายพินิต โพธิ์พันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นประธานในพิธีและได้กระทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2501  โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2500 เป็นต้นมาในปีแรกได้เปิดรับสมัครนักเรียน เข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 เพียง 1 ห้องเรียน  รับนักเรียนได้เพียง 49 คน  มีครู 2 คน  โดยจังหวัดแต่งตั้ง นายประกิจ รัตนสุวรรณ ป.ม. ครูโรงเรียน สุพรรณบุรี “กรรณสูตศึกษาลัย” เป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งครูใหญ่  แต่นายประกิจ รัตนสุวรรณ ได้ขอลาศึกษาต่อ ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา นายพราม เรืองสกุล ศึกษาธิการอำเภอศรีประจันต์  จึงรักษาการในตำแหน่ง ครูใหญ่แทน จากนั้น

ทางอำเภอจึงได้ทำการขอยืมตัว ครูประชาบาลมาช่วยทำการสอน  2  คน คือ น.ส.วิมล ศรีศักดาและ

นายจำนงค์   สุขพรหม พร้อมแต่งตั้งให้  น.ส.วิมล  ศรีศักดา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ( ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข” เมื่อปี พ.ศ. 2507 )    

ในปี 2501 คณะกรรมการศึกษาของโรงเรียนได้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ พื้นคอนกรีตหลังคามุงสังกะสีขนาด 3 ห้องเรียน กว้าง 8 เมตร ยาว 27 เมตร  เป็นเงิน  65,000  บาท   มอบให้อีก 1 หลัง และในปีนี้จังหวัดได้บรรจุแต่งตั้งครูมาทำการสอนเพิ่มอีก 1 คน คือนายวิโรจน์ รังกูล และขอยืมตัวครูประชาบาลช่วยทำการสอนเพิ่มอีก 1 คน คือ นายกริช ศรีศักดา มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ชั้นเรียน คือ ชั้นมัธยมปีที่ 1 และมัธยมปีที่ 2 ในปี 2504 กรมวิสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 212  อาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน  1 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท แต่งบประมาณที่ได้รับไม่พอสร้าง คณะกรรมการการศึกษา พ่อค้า ประชาชน จึงช่วยหาเงินสมทบ 34,000 บาท และจังหวัดได้บรรจุ แต่งตั้งครูมาทำการสอนอีก 2 คนคือ นายสำราญ  สอิ้งทอง และ น.ส.ราตรี  อิศรานนท์ พร้อมกับส่งคืนตัวครูประชาบาลที่ยืมตัวมาช่วยราชการกลับสังกัดเดิม 

ในปี 2505 ได้รับครูบรรจุใหม่เพิ่มอีก 1 คน คือนายทองชุบ อ่ำสกุล และปี 2506 ได้ รับครูเพิ่มอีก 1 คน คือ นายวิเชียร คชกูล ในปี 2508 กรมวิสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 40,000 บาท และให้เป็นค่าทาสีอาคารไม้ 1 ชั้น 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 46,000 บาท ในปี 2509 กรมวิสามัญศึกษาได้ย้าย นางวิมล ปิ่นสุวรรณ (ศรีศักดา) ไปเป็นครูประจำกองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา และส่ง นายประสิทธิ์ ดาราธร  ครูโทโรงเรียนวัดสิงห์ (สิงหราชวิทยาคม) บางขุนเทียน ธนบุรี มาเป็นครูใหญ่แทน ในปี 2512 กรมวิสามัญศึกษา ได้จัดให้โรงเรียนเข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา (ค.ม.ช.) รุ่น 6 พร้อมกับจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างอาคาร แบบ 212 ไม้ 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 240,000 บาท โรงอาหาร หอประชุม 2 หลัง เป็นเงิน 200,000 บาท โรงฝึกงาน 1 หลัง  120,000 บาท  บ้านพักครู 1 หลัง 50,000 บาท   ส้วม 1 หลังเป็นเงิน 30,000 บาท รวมเป็นเงินงบประมาณ 640,000 บาท แต่เนื่องจากสถานที่เดิมภายในบริเวณวัดจรรย์คับแคบ ไม่สามารถสร้างได้ โดยความริเริ่มของ นายปรีชา ขยันการนาวี  ศึกษาธิการอำเภอ และนายเมี้ยน เครือสินธ์ ศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงขออนุญาตกรมสามัญศึกษา ย้ายมาสร้างในสถานที่ใหม่ในบริเวณวัดเสมาและวัดกลาง ซึ่งเป็นวัดร้างบริเวณค่ายลูกเสือศรีประจันต์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 23 ไร่ 3 งาน 84 ตารางวาและต่อมาได้จัดซื้อขยายเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 35 ไร่ 3 งาน 84  ตารางวา 
             ในปี 2513 โรงเรียนได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียนในบริเวณโรงเรียนในปัจจุบันนี้ และได้เริ่มพัฒนาโรงเรียนอย่างจริงจัง เช่น ทำถนนภายใน ปลูกต้นไม้ เพื่อความร่มเย็นและปรับปรุงบริเวณ โรงเรียน เป็นต้น  เนื่องจากระยะนี้จำนวนนักเรียนได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน มากห้องเรียนไม่เพียงพอ กับการขยายตัวทางการศึกษาของโรงเรียน  ฉะนั้นในปี 2514 โรงเรียน จึงได้รื้ออาคารเรียน หลังไม้ 2 ชั้น 4 ห้องเรียน ในบริเวณวัดจรรย์มาสร้างใหม่คู่กับอาคารเรียนหลังที่ 2 ในปัจจุบัน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง พ่อค้า ประชาชน ช่วยออกค่ารื้อถอนและสร้างใหม่เป็นเงิน 30,000 บาท

ในปี  2516 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  216 จำนวนครึ่งหลัง 8  ห้องเรียนเป็นเงิน 640,000 บาท และในปี 2518  กรมสามัญศึกษาได้จัดสรร งบประมาณ ให้เป็นการต่อเติมอาคาร  216 (หลังที่ 3) อีกครึ่งหลังจำนวน 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,280,000 บาท พ่อค้าประชาชนชาวศรีประจันต์ ได้บริจาคเงินสร้างสนามเทนนิส 1 สนาม มี 2 คอร์ด มอบให้โรงเรียนเป็นเงิน 80,000 บาท 

ในปี 2520 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 2516 ก. จำนวน 1 หลัง 16 ห้องเรียน 2,081,000 บาท แต่เงินงบประมาณ   ไม่พอสร้างให้เสร็จตามแบบและรายการได้   ชมรมศิษย์เก่าเมธีประมุขและพ่อค้าประชาชน จึงได้ออกเงินสมทบช่วยเหลืออีก  55,000  บาท อาคารเรียนจึงเสร็จสมบูรณ์   ในปี 2520 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรโรงเรียน ต้องรับนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 และ ป.7 เข้าเรียน  ทั้ง 2 หลักสูตร กรมฯได้จัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้นักเรียนโรงเรียน  1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียน เป็นเงิน 180,000 บาท ปี 2526 โรงเรียนได้รับ งบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ค. ครึ่งหลัง 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,050,000 บาท

        ในปีการศึกษา 2528 โรงเรียนศรีประจันต์”เมธีประมุข” ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานโรงเรียนมัธยมดีเด่น ขนาดกลางของเขตการศึกษา 5

ในปีการศึกษา 2535  ทางราชการได้ตั้งงบประมาณสร้างอาคารแบบ 204/27 ให้กับ โรงเรียน

ศรีประจันต์”เมธีประมุข” 1 หลัง จำนวนเงิน 3,035,000 บาท และงบประมาณปิดอาคารเรียนแบบ 216 ค เป็นจำนวนเงิน 114,000 บาท    และกำนันประสงค์  อาจารย์จุฑามาศ   โพธสุธน  ได้บริจาคเงินสร้างห้องสมุดโพธสุธน พร้อมทั้งบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมเป็นเงิน 500,000 บาท ให้แก่โรงเรียน

           31 มีนาคม 2555 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข”อ ผ่านการประเมินภายนอก สมศ.3 ระดับ

ดีมาก ทุกตัวชี้วัด มีผลการพัฒนาในด้านคุณภาพผู้เรียนและผลการสอบ O-NET สูงขึ้นได้รับการเชิดชูเกียรติจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

วันที่ 18 ธันวาคม 2556 โรงเรียนศรีประจันต์ “เมธีประมุข” รับรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโรงเรียนดีเด่นแห่งชาติ ระดับมัธยมศึกษา ด้านสุขศึกษา พลศึกษา นันทนาการและกีฬา ประจำปี 2556

วันที่ 31 มกราคม 2556  โรงเรียนศรีประจันต์“เมธีประมุข” รับพระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทาน

จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ตามที่ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ

ธนชาต  ริเริ่ม..เติมเอกลักษณ์ไทยประจำปี 2556

          วันที่ 8 ธันวาคม 2557  นายพินิจ   สุทธิรัตน์  ผู้อำนวยการโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนศรีประจันต์“เมธีประมุข”